วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

เช็คด่วนน่ะครับ เดี๋ยวเราจะหมดสิทธิ์

                                                                                              ประกาศ
ขอให้นักศึกษาทุกท่านที่ยังศึกษาอยู่กับมหาวิทยาลัยเข้ามา  ขึ้นทะเบียนนักศึกษา  ที่
http://reg.esu.ac.th หรือ http://www.esarn-u.com
ภายในวันที่ 30 กันยายน 2554
ไม่เช่นนั้นทางมหาวิทยาลัยจะตัดสิทธิ์ของท่านจากการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอีสาน
วิธีการใช้
ให้ Login เข้าในระบบ โดยใช้รหัสนักศึกษา
และ รหัสผ่าน เป็น วันเดือนปีเกิด หรือ เลขที่บัตรประชาชน
แล้วให้ไปเลือกเมนูหัวข้อยืนยันตัวตน เพื่อบันทึกประวัติต่อไป

                                                                                               ประกาศ
นักศึกษาที่ยังไม่ลงทะเบียนเรียน ให้ไปลงทะเบียน ให้เสร็จสิ้นทุกรายวิชาจนถึงภาคเรียนปัจจุบัน
และชำระเงินให้ครบถ้วน
ภายในวันที่ 30 กันยายน 2554
ด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัยอีสาน แห่งเดียวเท่านั้น
หากไม่เข้ามาดำเนินการตามกำหนด มหาวิทยาลัยจะถือว่าท่าน สิ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอีสาน

(หากไม่สามารถชำระเงินได้ครบตามจำนวน ให้เข้ามาทำเรื่องผ่อนผันการชำระเงินตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยอีสานกำหนด)
สาเหตุ
เนื่องด้วยทางสำนักทะเบียนและประมวลผล มีหน้าที่จะต้องส่งข้อมูลต่างๆให้
สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)
http://www.mua.go.th/ ดังนี้
1.             ประวัตินักศึกษาพร้อมเลขที่บัตรประชาชน วันเกิด แต่ละคนทุกระดับชั้นทุกภาคการศึกษา
2.             สาขาวิชาที่เรียนแต่ละคนทุกระดับชั้นทุกภาคการศึกษา (ด้วยเหตุ อาจมีการโอนย้าย)
3.             นักศึกษาสมัครเรียน ที่ ห้องเรียน หรือ ศูนย์ ใด
4.             เกรดเฉลี่ยในแต่ละภาคการศึกษา
5.             หน่วยกิตที่ลงทะเบียนแต่ละภาคการศึกษา
6.             รายชื่อผู้ที่คาดว่าจะจบในแต่ละภาคการศึกษา
7.             ภาระหนี้สินที่มีต่อมหาวิทยาลัย
8.             อื่นๆ ตามที่สภาควบคุมฯกำหนด
ผล
1.             มหาวิทยาลัยอาจถูกลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การไม่รับรอง นักศึกษาของมหาวิทยาลัย ทุกคน
2.             หากส่งข้อมูลไปแล้ว รายชื่อไม่มี นักศึกษาผู้นั้นจะถูกเพิกถอนจากการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยโดยอัตโนมัติ
3.             หากเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาคนนั้น ในแต่ละภาคการศึกษาไม่ตรงกันกับที่ส่งไป สกอ. นักศึกษาและมหาวิทยาลัยอาจถูกไต่สวนเมื่อขอจบการศึกษา
4.             เกรดที่เป็นช่องว่างเกิน 2 ภาคการศึกษา หรือ 1 ปีการศึกษา จะเปลี่ยนเป็น F โดยอัตโนมัติ
5.             เกรดที่เป็น i (ไอ) เกิน 2 ภาคการศึกษา หรือ 1 ปีการศึกษา จะเปลี่ยนเป็น F โดยอัตโนมัติ
6.             นักศึกษาที่ไม่ลงทะเบียนเรียนเกิน 2 ภาคการศึกษา จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการเป็นนักศึกษา
7.             นักศึกษาทีสอบได้เกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.0 เกิน 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน จะถูก retire (หมดสภาพการเป็นนักศึกษาเพราะเรียนต่ำกว่าเกณฑ์)
หมายเหตุ สำนักทะเบียนและประมวลผลจะทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ และจัดส่งให้ สกอ. ภายในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2554

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เนื้อหา power point (คีย์หลัก)ของ ผศ.ดร.สุกิจ


  การวิเคราะห์บริบท
  ผศ.ดร.สุกิจ สุวรรณชัยรบ
  ผศ.ดร.สุกิจ สุวรรณชัยรบ
  รร.สกลราชวิทยานุกูล รุ่น ๐๗
  โรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร รุ่นแรก
  จบ ป.ตรี ๒๕๑๓  ป.โท ๒๕๑๗  ป.เอก  ๒๕๒๒
  อดีตรองอธิการฯฝ่ายวิชาการ  ..  ฝ่ายกิจการพิเศษ  ..  ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  สอน ป.ตรี  ป.โท  ป.เอก  บริหารการศึกษา
  ประเมินผลงานชำนาญการพิเศษ ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์
  ไทยเข้มแข็ง
  จบด๊อกเตอร์บางคนก็ไม่ได้เป็น ผอ,วิทยากร และ ผอ.เขต
  บริบท วิทยาลัยพลศึกษา
  กรณี รร.ประชานิเวศน์
  เกาหลีใต้ใช้อินเตอร์เนตความเรวสูง ๙๐% ของครัวเรือน
  คิวบาส่งอกแพทย์
  เวียตนามส่งคนเรียน ดร. ๕๐,๐๐๐ คน
  เด็กเก่งเวียตนามแย่งกันเข้าเรียนครู
  สุกิจ...พรศักดิ์
  บรูไน ยุโรป เรียนฟรีถึงมหาวิทยาลัย
  วิเคราะห์บริบท
  รภ.เลย สกลนคร เปิดสอน ป.โท
  มมส. จะเปิด ปรด. ที่อุดร
  เด็กอ่านไม่ออก ๒๐ %    เด็ก ป.๓ อ่านไม่ออก
  อีก ๕ ปี  ประชาคมอาเซียนและใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
  ครูผู้สอนเรียน ป.โท ผอ.เป็น ป.บัณฑิต
  ผอ.โรงเรียน ผอ.เขต ป.โท
  การจัดการความรู้
  นวดแผนไทยวัดโพธ์ สู่ ม.มหิดล
  ระเบียงวัดเชตุพนธ์ มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก
  The last lecture
  รองผอ.เขต อนันต์ พันนึก
  อาจารย์ครุศาสตร์เกษียณเกือบเกลี้ยง
  ดร.ใหม่ไปนิเทศด้วยกัน อาจารย์เก่าๆ ก็ไปด้วยกัน
  ลูก ๆ พาพ่อแม่ ทำ facebook  power point  7 habits
  ศูนย์การจัดการความรู้ที่เลย เขต ๑
  ได้ excellence ของ ม.เอกชน
  การวิเคราะห์บริบท : ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต
  Context Analysis : The Challenge of the Future Education Administration
  ปัจจุบันสถานศึกษาต่าง ๆ วิเคราะห์บริบทสถานศึกษา เพื่อนำไปใช้กำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
  ขอภาพที่ ๑ การสร้างสถานศึกษาแห่งคุณภาพ
  จากการวิเคราะห์บริบท สู่ (๑)วิสัยทัศน์ พันธกิจ (๒)การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์  (๓) การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ (๔) การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
  ด้วยการมีภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ สู่ (๑) การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา (๒) การสร้างเครื่อข่ายและการมีส่วนร่วม (๓)เกิดผลลัพท์การดำเนินงาน และ (๔)สถานศึกษาคุณภาพ
  โดยใช้(๑) การบริหารการเปลี่ยนแปลง (๒) การควบคุม การวัดประเมิน การจัดการความรู้ และ (๔) การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
  การวิเคราะห์บริบทที่มีคุณภาพ
  ทำให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับบริบท
  ภายใต้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ซึ่งเน้นการพัฒนาความตระหนักรู้ การเรียนรู้ การรู้เท่าทันมิติหรือโลกด้านใน (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดความเชื่อ ทัศนะ มุมมองต่อชีวิตและโลก)
  เกิดการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ  ทำให้มองเห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รายรอบสถานศึกษา และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
  ด้วยวิธีการคิดเชิงระบบ คือการมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของสิ่งต่าง ๆ  เห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากบริบทเหล่านั้น
  ทำให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
  การเป็นผู้บริหารสถานศึกษา
  คือ การเป็นผู้สร้างความสำเร็จของสถานศึกษา โดยบริหารผ่านบุคลากรทางการศึกษา
  ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะต้องมีความรู้แล้ว หากต้องมีเครื่องมือในการช่วยถ่ายทอดความรู้สู่การปฏิบัติ
  และถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อื่นได้ด้วย
  จะยิ่งทำให้การบริหารจัดการมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
  การวิเคราะห์บริบท
  ใช้เทคนิคการวินิจฉัยองค์การ
  เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจ เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
  นำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ที่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายในอนาคต
  เครื่องมือในการวินิจฉัยองค์การที่นิยมสูงสุด คือ SWOT Analysis
  บริบททางการศึกษามี ๒ ประเภท คือ
  บริบทภายในระบบการศึกษา (ครู ผู้บริหาร อาคารสถานที่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์) 
  และบริบทภายนอก (สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ประชากรศาสตร์ ความมั่นคงของชาติ)
  การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา
  ผ้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ ควรสามารถวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา ทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อการบริหารจัดการศึกษาในอนาคต
  การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา หมายถึงการจำแนกแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา
  เช่น นักเรียน บุคลากรสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ฯลฯ
  กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา
  ขอภาพที่ ๒.๑ กรอบแนวคิดของการวิเคราะห์บริบท
  วิเคราห์บริบทสถานศึกษา ด้วย
  (๑)การวินิจฉัยองค์การ
  (๒) การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
  (๓) การใช้แนวคิดแนวปฏิบัติจิตปัญญาศึกษา.....
  สู่ เป้าหมายของสถานศึกษาในอนาคต  โดยใช้
  (1) Organizational Diagnosis
  (2) Contemplative Education
  (3) System Thinking
  การวิเคราะห์องค์การ
  เสมือนการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคล
  จะได้ดูแลรักษาร่างกายได้ดี หรือได้รักษาความเจ็บป่วยตั้งแต่เนิ่น ๆ
  จะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด (เกาถูกที่คัน) 
  สามารถแก้ไขได้ก่อนที่จะเกิดปัญหา
  จะได้ตระหนักในจุดบกพร่อง (เช่น นึกว่าแข็งแรง ที่แท้ไขมันในเลือดสูง)
  นึกว่าต้องพัฒนาด้วยการฝึกอบรม  ที่แท้เป็นเรื่องขวัญกำลังใจ
  SWOT Analysis
  ปัจจัยภายใน ...จุดแข็ง (strength)  จุดอ่อน (weakness)
  ปัจจัยภายนอก...โอกาส (opportunity) อุปสรรค (threat)
  ควรมีข้อมูลมากพอและถูกต้อง
  ใช้วิเคราะห์ระดับองค์กร และใช้ได้ในทุกระดับขององค์การ
  ทำเพื่อค้นหาสภาวะการแข่งขันหรือจัดทำยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน  และใช้ในการมองอนาคต เพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมกับองค์กร
  ควรเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่กำหนดกับผลที่ได้จาก SWOT Analysis
  ควรเทียบเคียง (benchmark) กับภายนอก ทั้งชุมชนภายนอกและลกภายนอกจึงเข้าสู่การแข่งขันได้
  การทำ SWOT Analysis ให้มีประสิทธิภาพ
  การวิเคราะห์ภายนอก ใช้ C-PEST
  C-Customer, Competition
  P – Politics
  E – Environment, Economics
  S -  Society
  T - Technology
  การวิเคราะห์ภายใน ใช้ 7Ss
  S - Shared Value
  S - Structure
  S - Strategy
  S - System
  S - Style
  S - Staff
  S - Skill
  McKinsey 7 S Framework
  กลุ่มที่เป็นรูปธรรม : Strategy  Structure System
  กลุ่มที่เป็นรูปธรรมน้อยกว่า : Skill  Shared value  Staff  Style
  ยุทธศาสตร์ ดูที่ทิศทาง ขอบเขต ที่องค์การจะดำเนินไป
  โครงสร้าง ดูความสะดวก ซ้ำซ้อน สายบังคับบัญชา
  ระบบ ดูที่ความเป็นไม่เป็นทางการเพียงใด ระบบย่อย ๆ เป็นอย่างไร
  ทักษะ ดูทั้งทักษะด้านงาน (technical competency) และด้านการบริหารจัดการ (managerial competency)
  ค่านิยมร่วม ดูที่บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่าดีงาม จนเป็นวัฒนธรรม ทำให้เกิดปทัสฐาน
  บุคคลดูที่จำนวน และมีบุคคลที่จะสองตอบต่อความก้าวหน้า  Style ดูรูปแบบการบริหารและภาวะผู้นำ
  การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
  ผู้บริหารที่จะคิดวิเคราะหบริบทได้ถูกต้องแม่นยำ ต้องมีการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
  หมายถึงการมองภาพรวมที่เป็นระบบ  และมีส่วนประกอบย่อย ๆ
  แต่ละสิ่งล้วนเป็นหนึ่งหน่วยระบบ มีวงจรการทำงาน มีปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพท์ ผลกระทบ
  ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ (โรงเรียนมีชื่อเสียงก็เพราะทุกฝ่าย ไม่ใช่ผู้บริหารทำคนเดียว)
  ผลผลิตจะไหลจากหน่วยการผลิตหนึ่งไปสู่หน่วยอื่น ๆ อย่างครบวงจร ไม่มีที่สิ้นสุด
  System Thinking
  หมายถึงวิธีการคิดอย่างมีระบบ  มีเหตุมีผล
  ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหามีความถกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว
  วิธีการคิดอย่างเป็ระบบจะเป็นหนทางสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานตระหนักในการศึกษาหาความรู้ ให้ความสำคัญต่อการศึกษาฝึกอบรม เกิดการเรียนรู้ของทีมงาน เกิดการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน (Team Learning)
  บริหารให้ผู้ร่วมงานเกิดความเชี่ยวชาญแห่งตน (Personal Matery) มีรูปแบบแห่งปัญญา (Mental Model) เรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทีม (Team Learning) มีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) และคิดเป็นระบบ
  การคิดเชิงระบบ
  มีทั้งความคิดในระบบใหญ่และระบบเล็ก ดูว่าเรามีปัญหาส่วนไหน เมื่อเรียงลำดับความสำคัญแล้ว เราต้องเร่งรัดทำส่วนใดก่อน เราก็เอาระบบนั้นมาคิด และคิดเป็นระบบ คิดในเชิงเหตุ ผล และกระบวนการที่เกิดสิ่งนั้น
  ในส่วนของผลที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวบ่งชี้ให้หาสาเหตุ สาวไปถึงประบวนการ
  เมื่อแยกเป็นส่วน ๆ จะพบว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยป้อน (ตัวเหตุ) มีกระบวนการใดบ้างที่มาเกี่ยวข้อง (ตัวกระบวนการ) และผลที่เกิดขึ้นมีประการใดบ้าง
  ตัวกระบวนการมีทั้งที่ส่งผลในเชิงบวก เชิงลบ และตัวสนับสนุนอย่างกลาง ๆ
  ควรมองทั้งระบบใหญ่ แล้วลงไปหาระบบย่อย ดูว่าการปรับแก้ในนโยบายของระบบใหญ่ มีผลเยียวยาระบบย่อยต่าง ๆ หรือไม่
  และดูว่าการแก้ไขในระบบย่อย จะมีผลต่อโครงสร้างระดับบนอย่างไรบ้าง เน้นมุมมองเป็นวงจร ไม่ใช่เชิงเส้นตรง
  การคิดเชิงระบบ
  เป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยง มองภาพรวม
  คิดเชิงสังเคราะห์มากกว่าวิเคราะห์แยกแยะ
  มองเห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของระบบ
  ทั้งความสัมพันธ์เชิงลึกและความสัมพันธ์แนวกว้าง ในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน มากกว่าคิดแบบเหตุผลเชิงเส้นตรง
  คิดเน้นกระบวนการหรือแบบแผน (Pattern) มากกว่ามองภาพเป็นจุด ๆ (Events)
  หลักการของการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ
  เป็นการคิดใน ภาพใหญ่ ...ไม้ติดอยู่กับจุดย่อย ๆ
  สร้างสมดุลมุมมองทั้งระยะสั้นและระยะยาว  ...ทั้งแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาว
  เป็นพลวัต ความซับซ้อน และการพึ่งพาอาศัยกัน .... สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อสู้กับปัญหาที่ซับซ้อนคลุมเครือหรืออนาคตที่ไม่แน่นอน  ควรทำในสิ่งที่เรียบง่าย กำหนดลำดับ แก้ปัญหาทีละอย่าง
  แต่ต้องตระหนักในความสัมพันธ์ของระบบทั้งหมด ทั้งภายในและภายนอกของตัวระบบ
  ให้คุณค่าใส่ใจกับทั้งข้อมูลเชิงปริมาณที่วัดไม่ได้ (เช่น ขวัญกำลังใจ เจตคติ)  และข้อมูลเชิงปริมาณ
  ตระหนักว่าเราก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบ
  การใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา
  จิตตปัญญาศึกษาเป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ
  เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความตระหนักรู้ การเรียนรู้และรู้เท่าทันมิติ/โลกด้านใน (อารมณ์ ความรู้สีก ความคิด ความเชื่อ ทัศนะ มุมมองต่อชีวิตและโลก)
  เป็นการเรียนรู้อย่างใคร่ครวญ  ใช้การสังเกตุอย่างมีสติ
  มีสติต่อการเปลี่ยนแปลงภายใน
  ผ่านระบวนการ วิธีการ หรือ กิจกรรมหลายอย่าง เช่น การเจริญสติ ฝึกสงบนิ่งอยู่กับตนเอง  อาจใช้การสะทอนการเรียนรู้ในตนและกลุ่ม (Self and Group Reflection) สุนทรียสนทนา (Dialogue) ศิลปะ ดนตรี
  ส่งผลต่อการมีสติและปัญญา มีความรักความเมตตาต่อตนเองและผู้อื่น
  จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Ed.)
  เน้นประสบการณ์ตรงภายใน ให้ความสำคัญกับการตระหนักรู้โลกภายในของตนเองที่สัมพันธ์กับโลกภายนอก
  อยู่บนพื้นฐานของความเป็นกัลยาณมิตร ทั้งกัลยาณมิตรการเรียนรู้และกัลยาณมิตรประเมิน (Amicable Learning and Evaluation) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน
  ให้ความสำคัญเรื่องเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ภายใน (Tacit Knowledge) ของแต่ละคน ไม่วิพากษ์ วิจารณ์ ไม่ตัดสิน ภายใต้บรรยากาศของความเคารพ ยอมรับระหว่างกันแบบไม่มีเงื่อนไข เป็นบรรยากาศแบบเปิด สู่ความรู้สึกมั่นคง เปิดเผย เกิดการรู้จักตนเองและผู้อื่น
  จิตตปัญญาศึกษา
  ผนวกควบรวมการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ อีกทั้งขยายการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ ให้ครอบคลุม และตระหนักในความสำคัญของระบบความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ ซึ่งเป็นมิติด้านในของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) กับการจัดการเรียนการสอนและการบริหารสถานศึกษา
  เพราะมิติด้านในเป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
  การวินิจฉัยองค์การที่ขาดข้อมูลเกี่ยวกับมิติด้านในของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องครบถ้วนเพียงพอ จะนำไปสู่การบริหารที่โน้มนำโดยมิติด้านนอก ไม่สมดุล แยกส่วน ไม่เป็นองค์รวม ขาดความเป็นเอกภาพเอกลักษณ์ ไม่ยั่งยืน
  จิตตปัญญาศึกษา
  การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษาที่ไม่พิจารณามิติด้านในของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในฐานะที่เป็นบริบทภายในที่แท้จริง ก็มีแนวโน้มไปสู่การบริหารที่เน้นงาน มากกว่า เน้นคน
  ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าหัวใจสำคัญของการได้งานที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลอยู่ที่คุณภาพของคนทำงานที่มีความเข้าใจ ความเต็มใจ มุ่งมั่น มีความภูมิใจ ผสมผสานกับการมีความรู้ ความถนัด ความสามารถและทักษะ
  ผู้บริหารที่นำจิตตปัญญาศึกษาไปใช้เป็นแกนในการขับเคลื่อนคน งาน และกระบวนการบริหารมักประสบผลสำเร็จ  ได้ผลงานดีมีคุณภาพ ทุกฝ่ายมีความสุขความพึงพอใจ
 
การวางแผนกลยุทธ์
ผศ.ดร.สุกิจ สุวรรณชัยรบ
แนวคิดเบื้องต้น
การวางแผนกลยุทธ์เป็นการใช้วิธีการที่ชาญฉลาด แยบยล พลิกแพลง  ใช้กลอุบาย เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
เป็นกระบวนการต่อเนื่อง มีการทบทวนตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนยืดหยุ่น พลิกแพลงได้ตามสถานการณ์
เป็นการนำองค์การโดยรวมเพื่อความคงอยู่ได้ และเจริญก้าวหน้า
เป็นแนวทางรับมือกับสถานการณืที่เป็นภัยคุกคาม เป็นการใช้โอกาสที่มีที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเสียโอกาส
มุ่งเอาชนะคู่แข่งขัน (หากมี) หากเพิกเฉยอาจเสียเปรียบและพ่ายแพ้
แนวคิดพื้นฐาน
วิเคราะห์ให้เกิดมุมมองร่วมกันทั้งองค์ประกอบภายในองค์กร (จุดแข็ง-จุดอ่อน) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (โอกาส-อุปสรรค)
แผนกลยุทธ์ เป็นแผน(plan)เป็นรูปแบบ (pattern) เป็นการกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง (position) เป็นทัศนะภาพ (perspective) และเป็นกลวิธีการเดินหมาก (ploy)
เป็นการตัดสินใจในอนาคตของการดำเนินงานในองค์กร ภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder)
เป็นการปรับตัวเชิงรุกเพื่ออนาคตที่ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ
การวางแผนกลยุทธ์
การวางแผนแบบเดิมเน้นระยะเวลา มักจะเน้นระยะยาว แต่แผนกลยุทธ์เน้นระยะสั้นและปรับเปลี่ยนตามบริบท
การวางแผนแบบเดิมทำอย่างง่าย ๆ แต่แผนกลยุทธ์ต้องวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง วิเคราะห์แล้ววิเคราะห์อีกเป็นระยะ ๆ
แผนกลยุทธ์อาจทำแบบไม่เป็นทางการ และเน้นทั้งปัจจัยภายใน-ปัจจัยภายนอก เพื่อการดำเนินการที่ทันเหตุทันการณ์ ใช้โอกาสและลดความเสี่ยง
แผนกลยุทธ์มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์อย่างเป็นระบบ
การวางแผนกลยุทธ์
แผนกลยุทธ์จะกำหนดแนวทาง วิธีการที่ชาญฉลาดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
มีการนำแผนไปปฏิบัติ ตรวจสอบ กำกับ ควบคุม ติดตาม ประเมินเป็นระยะ ๆ
เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์มากที่สุด
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ประกอบด้วยการวิเคราะห์ภายนอก-ภายใน กำหนดทิศทางองค์กร(ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ) พัฒนาทางเลือก กำหนดทางเลือก ดำเนินการตามกลยุทธ์ ประเมิน ปรับปรุง
การวางแผนกลยุทธ์
ใช้เทคนิค SWOT analysis ในการวิเคราะห์
เปลี่ยนระบบงบประมาณแบบแผนงาน  (PPBS : Planning programming budgeting system)เป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB: Performance-based budgeting)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นการวิเคราะห์ระดับกว้าง ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เน้น วิเคราะห์ ๔ ด้าน (STEP : socio-cultural,echnological,economics,political and legal factors)
การวางแผนกลยุทธ์
สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ประกอบด้วยปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและกฎหมาย
สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยสภาพปัญหาของภารกิจ ลักษณะกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ ภาระงานที่เร่งด่วน ความพร้อม ความร่วมมือ เจตคติประชาชน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเน้นโอกาสและอุปสรรค
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเน้นจุดแข็งและจุดอ่อน
การวางแผนกลยุทธ์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเน้นปัจจัยหลัก ๘ ด้าน (2S4M2I : structure-policy, service-products, man, money, material, management, information, innovation)
การวิเคราะห์ SWOT เกิดผล ๔ รูปแบบ คือ(๑) มีจุดแข็งและมีโอกาส (๒) มีจุดแข็งแต่มีอุปสรรค (๓) มีจุดอ่อนแต่มีโอกาส (๔)มีทั้งจุดอ่อนและอุปสรรค
การกำหนดทิศทางสถานศึกษา
ทิศทางสถานศึกษา คือเป้าหมายที่ต้องการ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย วัตภุประสงค์ และเป้าหมาย
วิสัยทัศน์ (vision) คือ การมองอนาคตว่าอยากให้เป็นอย่างไร
วิสัยทัศน์บอกจุดเน้นที่สำคัญ มองเห็นภาพใหญ่หรือภาพรวมขององค์กร บอกทิศทาง
เช่น  เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นนำของเขตพื้นที่การศึกษาและมีคุณภาพระดับจังหวัด
การกำหนดทิศทางสถานศึกษา
พันธกิจ (mission) คือ ข้อความที่บอกถึงผลผลิต
บางครั้งใช้คำว่า ปณิธาน ซึ่งแสดงถึงวัตถุประสงค์และหน้าที่ และจุดเน้น
เช่น จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ด้วยหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการของชุมชน
เป้าประสงค์ คือความคาดหวังที่สำคัญ คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันคือ จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ทั่วไป (ให้ทำใบงานที่ ๑ - ๒ - ๓)
การกำหนดกลยุทธ์สถานศึกษา (ตอนการเรียนรู้ที่ ๔)
ระดับกลยุทธ์ ระดับองค์การ ระดับแผนงาน ระดับโครงการ
ระดับองค์แสดงทิศทางองค์การ
ระดับแผนงาน เน้นภารกิจหลักและให้สอดคล้องกับกับกลยุทธ์หลัก เน้นการเพิ่ม ขยาย ปรับปรุงการดำเนินงาน เช่น เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลการให้บริการ เสริมสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน
กลยุทธ์ระดับปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ ระบุว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง
การพิจารณาความเหมาะสมของกลยุทธ์
ขั้นที่ ๑ วิเคราะห์สถานะขององค์กร เช่น ผลประกอบการ ภารกิจ วัตถุประสงค์
ขั้นที่ ๒ พิจารณาและประเมินบทบาทผู้บริหาร กรรมการบริหาร
ขั้นที่ ๓ ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งโอกาสและอุปสรรค
ขั้นที่ ๔ ประเมินสภาพแวดล้อมภายใน ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน
ขั้นที่ ๕ วิเคราะห์ปัจจัยหรือประเด็นเชิงกลยุทธ์ ประมวลผล จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค นำไปสู่ การระบุปัญหา การทบทวนและปรับภารกิจกับวัตถุประสงค์ (หากจำเป็น)
การพิจารณาความเหมาะสมของกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ ๖ การคิดค้น วิเคราะห์ และเลือกทางเลือกในเชิงกลยุทธ์ มีการกำหนดทางเลือก วิเคราะห์ความเป็นไปได้ และเลือกกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ ๗ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ ๘ การควบคุมและประเมินผล
การกำหนดทิศทางกลยุทธ์
หากมีจุดแข็งและโอกาส ใช้คำว่า ขยาย เพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพ กระจายโอกาส สร้างเครื่อข่าย เสริมสร้างประสิทธิภาพ สร้างความเป็นเลิศ
หากมีจุดอ่อน แต่โอกาสเอื้ออำนวย ใช้คำว่า ปรับปรุงกลไก ฟื้นฟู เพิ่มขีดความสามารถ พัฒนาความเข้มแข็ง ปฏิรูป ขับเคลื่อน สร้างกลไก กระตุ้นให้เกิด สร้างแรงจูงใจ
คำที่ใช้ในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์
หากมีจุดแข็ง แต่โอกาสไม่เอื้ออำนวย ใช้คำว่า ระดมทรัพยากร สร้างความเท่าเทียม พัฒนา สร้างคุณภาพ ยกระดับ
หากมีจุอ่อนและมีภัยคุกคามหรืออุปสรรค ใช้คำว่า ยุบ เลิก ปรับลด หลอมรวม ปรับโครงสร้าง เพิ่มมาตรการ พลิกฟื้น
การกำหนดกลยุทธ์ในองค์การของรัฐ
ขั้นที่ ๑ กำหนดข้อตกลงหรือแนวคิดเบื้องต้นตามนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาประเทศ กฎหมายต่าง ๆ มติ ครม.
ขั้นที่ ๒ พิจารณาอำนาจหน้าที่ขององค์กร
ขั้นที่ ๓ กำหนดภารกิจและค่านิยมขององค์กร
ขั้นที่ ๔ ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
ขั้นที่ ๕ ระบุประเด็นที่จำนำไปสู่การวางกลยุทธ์ ทั้งเชิงรับและเชิงรุก
ขั้นที่ ๖ กำหนดกลยุทธ์ ทำข้อเสนอในรูปทางเลือกต่าง ๆ
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์
ขั้นที่ ๗ การทบทวนและอนุมัติกลยุทธ์และแผน
ขั้นที่ ๘ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ ที่จะนำไปสู่การระบุรายละเอียดของหน่วยแผนงาน แผนคน แผนเงินที่ครอบคลุมระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
ขั้นที่ ๙ การนำแผนไปสู่การดำเนินงาน
ขั้นที่ ๑๐ การประเมินผล
แนวทางของสถานศึกษาเอกชน
๑) พิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสถานศึกษา
๒) การได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อความก้าวหน้าหรืออยู่รอด
๓) การเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นที่พอใจของลูกค้า
ลักษณะของกลยุทธ์ที่ดี
๑) สามารถบรรลุผลได้
๒) ครอบคลุมทุกเป้าหมาย สอดคล้องกับทิศทาง
๓) ได้ประโยชน์เต็มที่
๔) ไม่เสี่ยงเกินไป คุ้มค่า มีกำไรคุ้มทุนหรือเกินคุ้ม
๕) เหมาะกับสภาพ จังหวะ สถานการณ์
๖) เหมาะกับกำลัง ความสามารถ
ลักษณะกลยุทธ์ที่ดี
๗) สอดคล้องกับจุดเด่นขององค์กร
๘) สอดคล้องกับทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของผู้นำ เหมาะกับปัจจุบันและอนาคต
๙) ผู้ร่วมงานที่รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ที่จะนำไปปฏิบัติ
๑๐) องค์การมีความสามารถในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ข้อคำนึงในทางเลือกกลยุทธ์
บรรทัดฐานหลัก ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม คำนึงถึงการรักษาสถานภาพ ได้เปรียบการแข่งขัน กลยุทธ์แต่ละด้านสอดคล้องกัน มีความยืดหยุ่น มีความเป็นไปได้
เงื่อนไขที่ต้องพิจารณา  - ความเพียงพอของทรัพยากร เจตคติเชิงบวกต่อความเสี่ยง สมรรถนะองค์กรโดยรวม หน่วยงานที่ป้อนวัตถุดิบ การติดต่อลูกค้า ความว่องไวในการตอบโต้กับสถานการณ์ที่เหนือความคาดหมาย
บรรทัดฐานในการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หลัก
๑) ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก
๒) รักษาสถานภาพและโอกาสการพัฒนา
๓) กลยุทธ์แต่ละด้านสอดคล้องกัน
๔) สอดคล้องกับพันธกิจและเป้าประสงค์
๖) เป็นไปได้
การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
กลยุทธ์ดี ปฏิบัติดี สำเร็จ (success)
กลยุทธ์ดี ปฏิบัติไม่ดี มีปัญหา (trouble)
กลยุทธ์ไม่ดี ปฏิบัติดี เสี่ยง (roulette)
กลยุทธ์ไม่ดี ปฏิบัติไม่ดี ล้มเหลว (failure)
กระบวนการแปลงแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การประเมินสถานภาพ
การจัดวางทิศทาง
การกำหนดกลยุทธ์ กำหนดกรอบงบประมาณ จัดทำแผนปฏิบัติการ
การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์
การควบคุมเชิงกลยุทธ์ การติดตามผลการปฏิบัติงานและประเมินผลกระบวนการ
การกำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัด
ผลผลิต (output) เช่น จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ผ่านการอบรม สื่อที่ได้
ผลลัพธ์ (outcome) เช่น นักศึกาสามารถพัฒนาตนเองได้ สอบเข้าเรียนต่อได้ มีงานทำ มีรายได้
ตัวชี้วัด (indicator) เป็นสิ่งบ่งชี้ความสำเร็จ
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จหลัก (KPI : key performance indicator) เป็นสิ่งบ่งบอกที่เป็นตัวแทนความสำเร็จของผลงานที่เป็นผลผลิตและผลลัพธ์ ไม่รวมกระบวนการและผลกระทบ
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดผลสำเร็จทางการศึกษา (education success indicator)  เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา การมีงานทำ
ตัวชี้วัดคุณภาพ (quality indicator) เช่น ความพึงพอใจ ความคาดหวัง
ประเภทตัวชี้วัด
ดัชนีหรือตัวชี้วัดตัวแทน (ใช้การเลือกตัวแปรเดียว หรือ ด้านเดียว)  เช่น อัตราการเข้าเรียน
ดัชนีหรือตัวชี้วัดย่อย (เป็นตัวแปรย่อยหลาย ๆ ตัว ในแต่ละด้าน) เช่น อัตราการขาดเรียน
ดัชนีหรือตัวชี้วัดผสม เป็นตัวแปรทั้งหมดที่เข้ามารวมกัน
ข้อควรพิจารณาในการกำหนดตัวชี้วัด
ตรงประเด็น
ครอบคลุม
เข้าใจง่าย
เป็นรูปธรรม มีอยู่จริง
สมเหตุสมผล
เชื่อถือได้
การกำหนดค่าตัวชี้วัด
ค่าร้อยละ (percentage)
อัตราส่วน (ratio) เช่น นักเรียน ต่อ ครู เป็น ๒๕ ต่อ ๑ (เป็นคนละประเภทกัน)
สัดส่วน (proportion) เช่น ชายกับหญิง เป็น ๕๐ต่อ๕๐ (เป็นประเภทเดียวกัน)
อัตรา (rate) เช่นอัตราการตกซ้ำชั้นจากนักเรียน ๑๐๐ คน
จำนวน (number) เช่น จำนวนนักเรียนที่ขาดเรียน
การกำหนดค่าตัวชี้วัด
ค่าเฉลี่ย (mean)
ตัวชี้วัดปัจจัยเบื้องต้น เช่น อัตราครูต่อนักเรียน จำนวนห้องเรียน
ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ เช่น อัตราการออกกลางคัน
ตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์ เช่น อัตราการเรียนจบชั้นสูงสุด
ดัชนีชี้วัดความเก่ง เช่น ค่าเฉลี่ยผลการเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้รับรางวัลด้านคุณธรรม อัตราส่วนนักเรียนที่สอบเข้าเรียนต่อได้
ดัชนีชี้วัด
ดัชนีชี้วัดความเก่ง เช่น ค่าเฉลี่ยคะแนนผลการเรียน
ดัชนีชี้วัดความสุข เช่น อัตราส่วนนักเรียนที่สุขภาพดี อัตราส่วนนักเรียนที่เล่นกีฬา อัตราส่วนนักเรียนที่ชอบงานศิลปะและนาฏศิลป์
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เช่น อัตราส่วนนักเรียนที่ได้งานทำ อัตราส่วนนักเรียนที่คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้
การจัดทำกรอบแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย
กรอบแผนกลยุทธ์ระดับองค์กรหรือแผนของโรงเรียน
กรอบแผนกลยุทธ์ระดับแผนงานหรือโครงการ
วัตถุประสงค์เชิงจุดมุ่งหมาย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
การวางแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน เป็นการนำกลยุทธ์จากการวิเคราะห์ swot ไปกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง และมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
การจัดทำแผนงานและโครงการ
แผน (pan) ประกอบด้วยหลายแผนงาน (programs)
แผนงาน ประกอบด้วยหลายโครงการ  (projects)
โครงการ ประกอบด้วย หลายกิจกรรม (activities)
เช่น แผนงานส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา อาจมีโครงการส่งเสริมการจัดวิชาเลือกที่สนองความต้องการของผู้เรียน และ โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และโครงการอื่นอีก
การจัดทำโครงการ
๑) ชื่อโครงการ
๒) ความสำคัญและที่มาของโครงการ หรือ เหตุผลและหลักการ
๓) วัตถุประสงค์
๔) เป้าหมาย
๕) กิจกรรม
๖) ระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินโครงการ
๗) ทรัพยากรที่ใช้
การจัดทำโครงการ
๘) ค่าใช้จ่าย หรือ งบประมาณ
๙) ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น
๑๐) ผลที่ดาดว่าจะได้รับ
อาจจัดทำโครงการแบบใหม่ที่นิยมใช้กันเป็นสากล คือ การทำโครงการแบบเหตุผลสัมพันธ์(log frame : logical framework)
โครงการแบบเหตุผลสัมพันธ์
การเขียนแต่ละขั้นตอนเป็นเหตุผลต่อกัน แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ ระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับจุดมุ่งหมายของแผนงาน รวมทั้งผลลัพธ์กับกระบวนการทำงานและทรัพยากร ตลอดจนเงื่อนไขต่อความสำเร็จ และการประเมิน โดยระบุในตาราง ๔ คูณ ๔
การนำแผนไปปฏิบัติ- มี ๕ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
๑) โครงสร้างองค์กร (structure)
๒) ระบบต่าง ๆ (systems)
๓) ความรู้ความสามารถและทักษะของคณะทำงาน (staff and skill)
๔) บทบาทและรูปแบบการบริหารระดับต่าง ๆ (style)
๕) การมีค่านิยมร่วม (share value)
การเลือกแนวทางในการปฏิบัติ ๕ แนวทาง
๑) การสั่งการ (the commander approach) สั่งจากบนลงล่าง (top-down)
๒) แนวทางการปรับเปลี่ยน (the change approach) มีการมีส่วนร่วมได้บ้าง
๓) แนวทางการร่วมมือ ( the collaborative approach) มีการร่วมคิด (brainstorming) ร่วมทำ
๔) แนวทางวัฒนธรรม (the cultural approach) ให้ร่วมมือทุกระดับมากยิ่งขึ้น
แนวทางการปฏิบัติตามแผน
๕) แนวทางการเพิ่มพูน (the crescive approach) คิดจากล่างขึ้นข้างบน (buttom - up) ผู้บริหารระดับกลางเสนอและเป็นผู้มีบทบาทมาก
ทักษะการสร้างความสำเร็จ
๑) ทักษะการสร้างปฏิสัมพันธ์ (interacting skill)
๒) ทักษะการจัดสรร (allocating skill)
๓) ทักษะการกำกับดูแล (monitoring skill)
๔) ทักษะการจัดองค์กร (organizing ksill)
๗ ปัจจัยหลักต่อความสำเร็จในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
๑) กลยุทธ์ (strategy)
๒) โครงสร้าง (structure)
๓) ระบบ (system)
๔) วิถีปฏิบัติ (style)
๕) บุคลากร (staff)
๖) ทักษะ (skill)
๗) ค่านิยมร่วม (shared value)
การบริหารและการควบคุมโครงการ
ใช้แผนภูมิองค์การ (organization chart)
ใช้แผนภูมิแก้นท์ หรือ แผนภูมิแท่ง(Gantt chart–bar chart)
ใช้แผนภูมิสายงานหรือผังงาน (flow chart)
ใช้แผนภูมิพหุคูณ หรือแผนภูมิกิจกรรมเอนกประสงค์ (multiple activities chart)
การกำกับและการประเมินผล


การวิเคราะห์บริบท และ การวางแผนกลยุทธ